การตรวจฮีโมโกลบิน เอวันซี (HbAlc)

ฮีโมโกลบิน เอวันซี (HbAlc) เป็นฮีโมโกลบินที่มีกลูโคสไปจับอยู่ ปกติจะมีค่าประมาณ 4.3-5.8 % ของฮีโมโกลบินทั้งหมด ค่าจะสูงขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษาที่ดี เนื่องจากมีกลูโกสจำนวนมากได้จับกับฮีโมโกลบิน สามารถตรวจได้โดยไม่ต้องอดอาหาร ค่าที่ได้ขึ้นกับความสูงของกลูโคสในเลือดในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา

       ผู้เป็นเบาหวานควรตรวจอะไร นอกจากระดับน้ำตาลในเลือด?

การตรวจ Micro Albumin ในปัสสาวะ คือ การตรวจการทำงานของไต Micro Albumin เป็นโปรตีน ซึ่งในคนปกติจะทำหน้าที่กรองโปรตีนเก็บไว้ แต่ในผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดอาการแทรกซ้อนที่ไตจะไม่สามารถกรองโปรตีนไว้ได้หมด หากพบโปรตีนในปัสสาวะจึงบอกถึงความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของไต และถ้าได้รับการดูแลที่ไม่ดีพอก็จะทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังต่อไปได้ หากได้รับการดูแลที่ดีจากแพทย์ จะสามารถสกัดกั้นการเกิดไตวายเรื้อรังชนิดถาวรได้
ABI ย่อมาจาก Ankle Brachial Index คือการตรวจวัดความดันโลหิตเปรียบเทียบกันระหว่างแขน และข้อเท้า เพื่อตรวจดูภาวะโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของโรคเบาหวาน เกิดเนื่องจากการควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลจึงไปจับตัวกันทำให้ผนังหลอดเลือดผิดปกติไป รวมทั้งภาวะความดันโลหิตสู แงะลการสูบบุหรี่ อาการที่เป็นการเตือนว่าท่านอาจจะเป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ได้แก่


รู้สึกเย็น หรือมีอาการซีดผิดปกติที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง
มีอาการชาผิดปกติที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง
เมื่อเดินอย่างต่อเนื่องประมาณ 1-2 ป้ายรถเมล์ จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อที่ขามากจนต้องหยุดพักสักระยะ จึงจะสามารถเดินต่อไปได้
ปวดขาเวลาเดินเร็ว ๆ หรือเดินขึ้นทางลาดชัน หรือแม้แต่เดินทางราบ
มีแผลเรื้อรังที่บริเวณเท้า
ผิวหนังที่บริเวณขาข้างใดข้างหนึ่งบางผิดปกติ และอาจมีขนร่วงด้วย
ปวดปลายนิ้วเท้าในเวลากลางคืน บางครั้งปวดจนต้องตื่นนอน ค่าปกติต้องไม่ต่ำกว่า 0.9 ถ้าต่ำกว่า 0.9 แสดงว่ามีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบตันที่ปลายแขน ขาได้ รวมทั้งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเพิ่มขึ้นด้วย

       สำหรับภาวะเบาหวานฉุกเฉินจากน้ำตาลต่ำ ผู้ป่วยจะเริ่มต้นด้วยอาการมึนเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ใจสั่น เหงื่อออก เป็นความรู้สึกเดียวกับเวลาหิว ในระยะนี้ถ้าผู้ป่วยรับประทานน้ำตาลจะสามารถพ้นจากภาวะนี้ได้ ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา และปริมาณคงที่ เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยหมดสติได้ ผู้ป่วยเบาหวานอาจมีปัญหาเรื่องการหมดสติ และทำให้เสียชีวิตได้ โดยจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
       1. หมดสติจากสาเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น ได้รับสารพิษหรืออุบัติเหตุกระทบกระเทือนทางสมอง เช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป
       2. หมดสติจากโรคเบาหวานเอง ซึ่งสาเหตุนี้แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ ภาวะเบาหวานฉุกเฉิน จากน้ำตาลต่ำ และภาวะเบาหวานฉุกเฉิน จากน้ำตาลสูง

       ส่วนภาวะเบาหวานฉุกเฉินจากน้ำตาลสูง ได้แก่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมาก หรือ มีความผิดปกติของระบบเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ทำให้มีภาวะกรดคั่งในร่างกายทำให้ผู้ป่วยหมดสติ อาการที่บ่งชี้ว่าอาจเกิดสาเหตุเหล่านี้คือ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย ซึมลง หรืออาการหอบ หายใจลึก ในกรณีภาวะกรดคั่งในร่างกายมากขึ้น